เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนรักตัวเอง
เมื่อมีเครือข่ายสังคมและมีอุปกรณ์ที่สามารถบันทึกภาพและคลิ๊ปวีดีโอได้
ก็เริ่มมีพฤติกรรมแสดงออกว่ารักตัวเองกันแพร่หลาย แล้วตั้งชื่อพฤติกรรมใหม่ว่าเซฟฟี่
(Selfie) คือ การถ่ายภาพของตนเอง
ปกติมักจะเห็นท่อนแขนที่เอื้อมไปกดปุ่มชัตเตอร์ (Shutter) พบครั้งแรกในปีพ.ศ.2545
ที่ประเทศออสเตรเลีย แล้วพจนานุกรมออกซ์ฟอร์ด (Oxford dictionary) ได้จัดคำนี้เป็นคำศัพท์แห่งปี 2013 (Word of the year 2013) ซึ่งภาพเซฟฟี่มักโฟกัสที่หน้าตา และทรงผม ด้วยข้อจำกัดจากความยาวของท่อนแขนที่ต้องจับกล้องไว้ขณะถ่ายภาพ
แต่ก็มีเซฟฟี่แบบตั้งเวลาถ่ายภาพ ทำให้ไม่จำเป็นต้องจับกล้องไว้กับมือ
เมื่อเซฟฟี่เริ่มได้รับความนิยมก็มีคำใหม่เกิดขึ้นตามพฤติกรรมใหม่
เช่น อัสซี่ (Usie) คือ
การถ่ายภาพหมู่ด้วยตนเอง จึงมักเห็นท่อนแขนหลายท่อนที่ยื่นมากดถ่ายภาพ หรือทูฟี่ (Twofie)
และทรีฟี่ (Threefie) ที่นับจากจำนวนคนในภาพถ่าย
โดยพฤติกรรมทั้งเซฟฟี่และอัสซี่เป็นสิ่งที่ควรส่งเสริม เพราะประกอบด้วยอย่างน้อย 3
ขั้นตอนของความรู้สึกเพื่อให้ได้มาหนึ่งภาพคือ ความรัก (Love) เพราะไม่รักตัวเองก็คงไม่ถ่าย การยอมรับตนเอง (Recognize) ถ้าไม่ยอมรับหน้าตาของตนก็คงไม่ได้เห็นเซฟฟี่เหล่านั้น การแบ่งปัน (Share)
คือการอยากให้คนอื่นได้เห็นเหมือนเราและเปิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งเชื่อได้ว่าการมีพฤติกรรมนี้มากจะช่วยลดปัญหาการฆ่าตัวตายได้
มีความเชื่อว่าคนที่รักตัวเองมีปฏิสัมพันธ์กับคนในสังคม
ได้แสดงออก ได้แบ่งปัน ได้รับการยอมรับ ไม่เก็บกด
ย่อมมีโอกาสฆ่าตัวตายน้อยกว่าคนที่เก็บกด ซึมเศร้าคนเดียว ตามข้อมูลของกรมสุขภาพจิต
พบว่า คนไทยฆ่าตัวตายสำเร็จเฉลี่ย 3612 คนต่อปี หรือประมาณ 10 คนต่อวัน แต่ที่เกาหลีใต้มีสถิติถึง
15000 ครั้งต่อปี ซึ่งมากกว่าไทย 4 เท่า
และเป็นอันดับหนึ่งในกลุ่มประเทศที่พัฒนาที่มีสถิติฆ่าตัวตายสูงสุด แต่ประชากรของเกาหลีใต้มีราว
50 ล้านคนน้อยกว่าประเทศไทยที่มี 65 ล้านคน
ซึ่งเหตุที่ฆ่าตัวตายสูงกว่าไทยอาจมีเหตุผลหนึ่งที่คนเกาหลีใต้เป็นพวกชาตินิยม
มีจริยธรรมสูง มีความเชื่อว่าฆ่าตัวตายด้วยการคว้านท้องหากทำงานล้มเหลว หรือศาสนาที่ไม่เข้มแข็ง
ซึ่งภาครัฐของเกาหลีใต้ก็พยายามแก้ปัญหานี้อยู่
No comments :
Post a Comment