Saturday, May 03, 2014
สอบ U-Net ถูกต่อต้าน (itinlife448)
3 พ.ค.57 ปัจจุบันในประเทศไทยมีระบบเศรษฐกิจแบบระบบทุนนิยมที่ให้ความสำคัญกับการสอบอย่างมาก เพราะการสอบถูกใช้เพื่อชี้เฉพาะให้เห็นคุณลักษณะเฉพาะบุคคล เมื่อเข้าสอบแล้วทำให้ทราบผลว่าตนเองอยู่ระดับใด บกพร่องในประเด็นใดก็จะพัฒนาในส่วนนั้น การสอบ O-Net แบ่งวิชาที่สอบตามกลุ่มสาระ ทำให้บอกได้ว่าเด็กภาคเหนือ กับภาคใต้มีสาระใดต่างกันอย่างไร แล้ววางแผนเรื่องทรัพยากรที่จะเติมเต็มในพื้นที่ที่ขาด หรือจัดสรรทรัพยากรเพิ่มเพื่อพัฒนาต่อยอด ในการสอบ O-Net ทำให้นักเรียนได้ตัวตน ผู้ปกครองรู้ถึงศักยภาพของบุตรหลาน และโรงเรียนทราบถึงจุดอ่อนจุดแข็งของโรงเรียน ส่วนการสอบท้องถิ่น สอบก.พ. สอบเข้าบริษัทเอกชน การสอบก็เพื่อสรรหาคนที่มีความสามารถแยกออกจากคนที่ไม่มีความสามารถตามตำแหน่ง ในระบบทุนนิยมเชื่อว่าคนที่สอบข้อสอบเฉพาะทางได้คะแนนสูงย่อมทำงานได้ดีกว่า
คนไทยกลุ่มหนึ่งให้ความสำคัญกับการวัดผลตนเอง และการหางานทำ จึงสมัครเข้าสอบแข่งขัน และพยายามทุกวิถีทางที่จะผ่านการสอบให้ได้ ในการสอบรับราชการหรือเข้าทำงานกับองค์กรท้องถิ่นมีการแข่งขันที่สูงมาก เช่น สมัคร 700 คน แต่รับ 4 คน หรือคิดเป็นไม่ถึง 1 ใน 100 ทีเดียว เนื่องจากเห็นว่าการสอบเป็นเรื่องสำคัญที่ใช้วัดคุณภาพของคน ใช้เป็นเกณฑ์แยกคนออกจากคน ดังนั้นคณะกรรมการบริหารสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เสนอให้ปีการศึกษา 2557 มีการจัดสอบ U-Net สำหรับระดับอุดมศึกษาขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้สทศ.ได้เคยจัดสอบสอบ O-Net ทั้งระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษามาแล้ว
เหตุผลที่มีการต่อต้าน เพราะเชื่อว่า U-Net ไม่ได้ช่วยวัดความรู้และมาตรฐานของบัณฑิตระดับปริญญาได้จริง เพราะแต่ละสถาบันก็มีหลักสูตรในการสอนที่ต่างกัน การสอบมากมายจะเป็นการบั่นทอนเวลาในการคิดสร้างสรรค์ และการทำประโยชน์ให้กับตนเองและผู้อื่น แล้วสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.) ได้ประกาศว่าจะไม่ใช้คะแนน U-Net มาเป็นเกณฑ์ในการประเมินรอบ 4 (พ.ศ.2559-2563) ซึ่งกระแสการต่อต้านก็คาดว่าจะทำให้การสอบ U-Net ต้องถูกนำกลับไปทบทวนใหม่ว่าจะนำมาใช้หรือไม่
http://rightofwei.wordpress.com/2012/10/25/the-doe-encourages-cheating/
http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9570000048691
http://www.dlaapplicant.com/
http://www.kruwandee.com/news-id8700.html
http://www3.dlaapplicant.com/file/notice/notice5.pdf
ต่อต้านกันคึกโครม
เห็นว่าสอบ u-net ไม่สะท้อนคุณภาพที่แท้จริง
จากการจัดสอบ 3 ด้าน
1. ทักษะพื้นฐาน 4 วิชา ได้แก่
การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
การใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีเพื่อการดำรงชีวิต คือ การรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy)
การคิดวิเคราะห์แก้ปัญหา อย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking)
2. คุณธรรม จริยธรรม (Moral Resoning)
3. ด้านทักษะวิชาชีพเฉพาะสาขาวิชา
ซึ่งในส่วนนี้ สทศ.จะร่วมมือกับสภาวิชาชีพ สมาคมวิชาชีพ
เพื่อนำผลทดสอบและผลประเมินที่มีมาตรฐานมาใช้เป็นส่วนหนึ่ง
แต่หากวิชาชีพนั้นไม่มีการทดสอบ สทศ.
ก็จะหารือเพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดทักษะวิชาชีพนั้นแต่ละสาขาแทน
http://www.thairath.co.th/content/419425
Subscribe to:
Post Comments
(
Atom
)
No comments :
Post a Comment