Monday, May 19, 2014

นำเสนอระบบตรวจเยี่ยมฯ โดยใช้โมเดลเซกิ




วันที่ 8 - 9 พ.ค.57 มีโอกาสไปนำเสนอผลงานทางวิชาการในรูปบทความที่มี proceeding
ในงาน "การประชุมทางวิชาการระดับชาติด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ" ครั้งที่ 10
ณ Angsana Laguna Phuket
http://www.nccit.net/

นำเสนอเรื่อง "การพัฒนาระบบตรวจเยี่ยมสำหรับการประเมินตนเอง
โดยใช้โมเดลเซกิ กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเนชั่น จังหวัดลำปาง"

ได้พบนักวิชาการด้านคอมพิวเตอร์มากมาย มีหลายเรื่องที่ฟังแล้วเป็นแรงบันดาลใจให้คิดอะไรต่อได้อีกมากมาย
เอกสารของผม 6 หน้า อยู่ที่
http://www.slideshare.net/thaiall/nccit2014-11

ส่วน proceeding ทั้งเล่ม 1081 หน้า อยู่ที่
http://www.scribd.com/doc/223300399/Proceedings-of-NCCIT2014


บทคัดย่อ
      งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบบันทึกผลการตรวจเยี่ยมคุณภาพการศึกษา ตามเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษาของ สกอ. และสมศ. เพื่อพัฒนาระบบรายงานผลการตรวจเยี่ยมของกรรมการตรวจเยี่ยมในระดับคณะวิชา เป็นกรณีศึกษามหาวิทยาลัยเนชั่น มีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 5 กลุ่ม ประกอบด้วยผู้บริหาร และหน่วยงานที่รับผิดชอบการประกันคุณภาพการศึกษา ผู้รับผิดชอบองค์ประกอบคุณภาพระดับมหาวิทยาลัย บุคลากรในคณะวิชาที่รับผิดชอบองค์ประกอบ หน่วยงานที่รับผิดชอบตัวบ่งชี้ และผู้ประเมินภายใน เครื่องมือที่ใช้พัฒนาระบบคือ เครื่องบริการอาปาเช่ ตัวแปลภาษาพีเอชพี  เอแจ็กซ์ และระบบฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล แล้วดำเนินการพัฒนาระบบฐานข้อมูลโดยใช้การจัดการความรู้ตามโมเดลเซกิ (SECI Model) ประกอบด้วย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Socialization) การสกัดความรู้ออกจากตัวคน (Externalization) การควบรวมความรู้ (Combination) และ การผนึกฝังความรู้ (Internalization) แล้วใช้แบบประเมินความพึงพอใจต่อการอบรมการใช้งานโปรแกรมต้นแบบ และภายหลังการใช้งานระบบโดยผู้ตรวจเยี่ยม งานที่พัฒนาขึ้นใช้กับการตรวจเยี่ยมระดับคณะวิชาตามร่างรายงานการประกันคุณภาพการศึกษาปีการศึกษา 2555 โดยลักษณะคำตอบเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ พบว่า ผลประเมินความพึงพอใจต่ออบรมการใช้งานระบบฐานข้อมูลการตรวจเยี่ยมโดยรวมอยู่ระดับมาก (xˉ =3.94, S.D.=0.46) และผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบ อยู่ระดับมาก (xˉ =3.65, S.D.=0.64) ซึ่งสรุปได้ว่าระบบที่พัฒนาขึ้นตอบสนองความพึงพอใจของผู้ตรวจเยี่ยมได้
คำสำคัญ: การตรวจเยี่ยม ผู้ตรวจเยี่ยม การประกันคุณภาพ เกณฑ์ประเมินคุณภาพการศึกษา

Abstract
The objective of this operational research is to develop the peer visit system for the quality assessment system that is supported the internal and external indicators. It will help the inspector to generate the suggestion report. The system will be used as the case study of Nation University.  The data sampling is divided into 5 groups, consisting of administrator, assessors, faculties, key performance indicator owner and peer visit committee. The system development tools are Apache Server, PHP Interpreter, AJAX and MySQL Database. Another tool for knowledge management process is SECI model that consist 4 sub-process of socialization, externalization, combination, internalization. 5-scale rating questionnaire is collected to evaluate system performance 2 times. This system can serve for peer visit inspector in all faculties on 2555. The evaluation result of training's satisfaction is high (a mean of 3.94 and standard deviation of 0.46). The evaluation result of system’s satisfaction is high (a mean of 3.65 and standard deviation of 0.64). It is concluded that the system performance can satisfy the peer visit inspectors.
Keyword: Peer visit, Inspector, Quality Assurance, Quality Indicator

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.10150179894897272.317163.350024507271


No comments :

Think different