เป็นการหาข้อสรุปว่า บุคลากรลักษณะใดต้องการพัฒนาตนเองแบบใด
http://it.nation.ac.th/studentresearch/search.php?id=56
http://it.nation.ac.th/studentresearch/search.php?id=56
ตามที่ได้อ่านงานของ กาญจนา ศรีชัยตัน
ทำวิจัยเรื่อง ความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากร มหาวิทยาลัยเนชั่น
วัตถุประสงค์ 2 ข้อ
1. เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรมหาวิทยาลัยเนชั่น
2. เพื่อเปรียบเทียบความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรมหาวิทยาลัยเนชั่น
จําแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทํางาน และตําแหน่งงาน
สมมติฐานของการวิจัย 5 ข้อ
1. บุคลากรที่มีเพศแตกต่างกันมีความต้องการพัฒนาตนเองแตกต่างกัน
2. บุคลากรที่มีอายุแตกต่างกันมีความต้องการพัฒนาตนเองแตกต่างกัน
3. บุคลากรที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกันมีความต้องการพัฒนาตนเองแตกต่างกัน
4. บุคลากรที่มีประสบการณ์ในการทํางานในมหาวิทยาลัยเนชั่นแตกต่างกันมีความต้องการพัฒนาตนเองแตกต่างกัน
5. บุคลากรที่มีตําแหน่งงานแตกต่างกันมีความต้องการพัฒนาตนเองแตกต่างกัน
ตัวแปรอิสระ
ปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากร
- เพศ
- อายุ
- ระดับการศึกษา
- ประสบการณ์ในการทํางาน
- ตําแหน่งงาน
ตัวแปรตาม
ความต้องการพัฒนาตนเอง
- การศึกษาต่อ
- การฝึกอบรม/สัมมนา
- การศึกษาดูงาน
- การวิจัย
- การเข้าสู่ตําแหน่งทางวิชาการ
การวิเคราะห์ข้อมูล
1. ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม
ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทํางาน และตําแหน่งงาน
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ
2. ข้อมูลความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากร มหาวิทยาลัยเนชั่น
วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ คือ ค่าความถี (Frequency)
ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี ย (Mean)
ค่าส่วนเบี ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
3. ทดสอบการเปรียบเทียบความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรมหาวิทยาลัยเนชั่น
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test สําหรับกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม
และ One-way ANOVA สําหรับกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มขึ้นไป
ถ้าพบค่าความแตกต่าง วิเคราะห์ค่าความแตกต่างรายคู่โดยวิธี LSD
บทที่ 4 ผลการวิจัย
- มีผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม
นำเสนอด้วย จำนวน และร้อยละ
- สรุปผลตามระดับความคิดเห็นต่อความต้องการพัฒนาตนเองของ
บุคลากรมหาวิทยาลัยเนชั่นต่อการศึกษาต่อ
นำเสนอด้วย จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แปลความ และอันดับ
- การเปรียบเทียบเพศกับความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรมหาวิทยาลัยเนชั่น
ใช้ T-Test
- ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่าง
ของความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรมหาวิทยาลัยเนชั่นกับอายุ
ใช้ F-Test ให้ได้ค่า sig ว่าแต่ละกลุ่มต่างกันหรือไม่
ก่อนนำเสนอค่า sig เทียบระหว่างกลุ่ม กับภายในกลุ่ม
จะนำเสนอตารางข้อมูลแต่ละกลุ่มที่มีค่าเฉลี่ย กับ S.D. ก่อน
- กรณีในงานชิ้นนี้ F-Test และ T-Test
ได้ sig ต่ำกว่า 0.05 อย่างละ 1 จาก 5 การทดสอบ แสดงว่าแตกต่าง
จึงต้องทดสอบรายคู่ ด้วย One-way Anova
- ก่อนจบบทที่ 4 จะสรุปว่า มีสมมติฐานใดยอมรับ หรือปฏิเสธบ้าง
http://www.thaiall.com/spss
No comments :
Post a Comment