Monday, April 28, 2014

กระบวนการบูรณาการจัดการเรียนการสอน



ได้อ่านบทความของ พระครูสังวรสุตกิจ ทำให้มองเห็นการกระบวนการพัฒนาการเรียนการสอนในอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งท่านนำเสนอเรื่อง กระบวนการบูรณาการจัดการเรียนการสอนผ่านการชำระตำนานมูลศาสนาฉบับบ้านเอื้อม จังหวัดลำปาง (The integration of Teaching and Learning Through the Revision of Religion Mythology Wat Ban Uam in Lampang Provinces)

บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษากระบวนการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนของคณาจารย์และพระนิสิตผ่านการชำระตำนานมูลศาสนาฉบับวัดบ้านเอื้อม  2) เพื่อสังเคราะห์ความรู้ที่ได้สู่แนวทางการนำไปใช้ขยายผล แผนการดำเนินงานออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่  ระยะที่ 1 เป็นการทำแผนการบูรณาการการจัดการเรียนการสอน ระยะที่ 2 นำแผนการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนไปใช้ปฏิบัติ ระยะที่ 3 เป็นการทบทวนสิ่งที่ได้ปฏิบัติ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาข้อมูลจากงานวิจัยเดิมเป็นหลัก ในลักษณะการวิจัยเชิงเอกสาร และทำการจัดเวทีการวิจัยเป็นระยะ ๆ จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (key Informants) จำนวน 35 รูป/ท่าน โดยแบ่งออกเป็นการจัดทำการสนทนากลุ่มเฉพาะแบบเจาะจง (focus group discussion) นักวิจัย 14  รูป/คน พระนิสิต 18 รูปและ พี่เลี้ยงศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดลำปางจำนวน 3 คน

ผลการวิจัยพบว่า
1. จากการดำเนินงานพบว่า ได้นำเนื้อหาจากตำนานมูลศาสนา ฉบับวัดบ้านเอื้อม ไปทดลองสอนแก่นิสิตชั้นปีที่ 3 นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะพุทธศาสตร์ พบว่า เนื้อหาสามารถมาบูรณาการกับการเรียนการสอนในรายวิชารัฐศาสตร์ในวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา และให้นิสิตได้ศึกษาและวิเคราะห์ถึงพัฒนาการการปกครองคณะสงฆ์ที่มีความสัมพันธ์และเกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาการเมืองการปกครองของไทยในสมัยล้านนา อันเชื่อมโยงไปถึงบทบาทของพระสงฆ์กับการเมืองไทย สมัยสุโขทัยและศรีลังกา
2. การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนพบว่า การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน ทั้ง 2 รายวิชา ซึ่งเป็นการศึกษาตามเนื้อหาตำนานมูลศาสนาฉบับวัดบ้านเอื้อมจึงไม่ได้ เป็นประเด็นปัญหาในการค้นคว้าหาข้อมูลและหลักฐานอื่นซึ่งเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ล้านนา หรือประวัติศาสตร์ในยุคสมัยเดียวกันมาเปรียบเทียบ และในเนื้อหาของตำนาน หากมีระยะเวลาเพียงพอก็ยังสามารถนำไปสู่การบูรณาการโดยการเรียนรู้ 2 แบบ ทั้งในการเรียนรู้แบบวิเคราะห์และสังเคราะห์ ซึ่งจะเชื่อมโยงไปได้อย่างกว้างขวาง 
3. กำหนดกิจกรรมที่มุ่งเน้นการให้ผู้ทรงคุณวุฒิร่วมวิพากษ์และปรับปรุงเนื้อหาการเรียนการสอนใน 2 รายวิชาคือ รัฐศาสตร์ในวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาและพระพุทธศาสนากับการพัฒนาการเมืองการปกครอง จากการวิพากษ์กระบวนการจัดการเรียนการสอนในรายวิชารัฐศาสตร์ในวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา และรายวิชาพระพุทธศาสนากับการเมืองการปกครอง จากคณะผู้ทรงคุณวุฒิ ทำให้ทีมวิจัยได้รับองค์ความรู้ใหม่ๆในการขยายผลการบูรณาการการจัดการเรียนสอน เช่น การค้นหาตำนานเรื่องอื่นๆแล้วนำมาชำระ เพื่อนำมาบูรณาการในการจัดการเรียนการสอน


ติดตาม fullpaper ที่
http://www.scribd.com/doc/220648836/
หรือที่ http://www.mculampang.com

No comments :

Think different