Sunday, June 15, 2014

คอมพิวเตอร์ หลอกมนุษย์สำเร็จ ได้เกิน 30% เป็นครั้งแรก



เรื่องคอมพิวเตอร์มีตำนานมากมาย หนึ่งในตำนานที่ยังไม่มีใครเอาชนะได้
คือ การสร้างปัญญาประดิษฐ์ที่หลอกมนุษย์ได้ว่าคุยอยู่กับมนุษย์
ที่สร้างสถานการณ์ให้คอมพิวเตอร์สนทนากับมนุษย์ แล้วมนุษย์เชื่อว่าได้คุยกับมนุษย์ ไม่ใช่เครื่องคอมพิวเตอร์

ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ยังคิดเองไม่ได้โดยสมบูรณ์ ถ้าคิดเองได้อาจเกิดหายนะแบบ Terminator ภาค 1
โดย นายยูจีน เป็นผู้ชนะการแข่งขันในปี 2014 และเป็นคนแรกในรอบ 50 ปีที่ทำได้สำเร็จ
ได้พัฒนาคอมพิวเตอร์ว่าเป็นเด็กอายุ 13 ให้คุยกับกรรมการ คนละ 10 คำถาม แบบ parralel
ผลสรุปคือมีกรรมการยอมรับร้อยละ 33 .. เขาชนะการแข่งขัน
If a computer is mistaken for a human more than 30% of the time during a series of five minute keyboard conversations it passes the test.
No computer has ever achieved this, until now. Eugene managed to convince 33% of the human judges (30 judges took part - see more details below) that it was human.
---
Further details about the Turing Test 2014:
- Simultaneous tests as specified by Alan Turing
- Each judge was involved in five parallel tests - so 10 conversations
- 30 judges took part
- In total 300 conversations
- In each five minutes a judge was communicating with both a human and a machine
- Each of the five machines took part in 30 tests
- To ensure accuracy of results, Test was independently adjudicated by Professor John Barnden, University of Birmingham, formerly head of British AI Society
---
คอมพิวเตอร์ 'หลอก' มนุษย์สำเร็จ
ข้อมูลจาก http://www.komchadluek.net/detail/20140614/186377.html
---
Eugene Goostman, a computer programme pretending to be a young Ukrainian boy, successfully duped enough humans to pass the iconic test
http://www.independent.co.uk/life-style/gadgets-and-tech/computer-becomes-first-to-pass-turing-test-in-artificial-intelligence-milestone-but-academics-warn-of-dangerous-future-9508370.html
---
Turing Test success marks milestone in computing history
'Eugene' simulates a 13 year old boy and was developed in Saint Petersburg, Russia. The development team includes Eugene's creator Vladimir Veselov, who was born in Russia and now lives in the United States, and Ukrainian born Eugene Demchenko who now lives in Russia.
http://www.reading.ac.uk/news-and-events/releases/PR583836.aspx

                       เส้นแบ่งระหว่างเครื่องจักรกลกับมนุษย์เริ่มตีบแคบเข้ามาเรื่อยๆ ตามความรวดเร็วในการพัฒนาเทคโนโลยี ถ้าเป็นเมื่อสัก 50 ปีก่อน คำพูดนี้คงมีคนน้อยมากที่จะเชื่อ และมองเห็น แต่ในปัจจุบันจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์ และแนวคิดการพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่กว้างขวางขึ้น ทำให้ "ความเป็นมนุษย์" กับ "อัจฉริยภาพของเครื่องจักรกล" นั้นใกล้เข้ามามากและเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

                       เมื่อ 64 ปีที่แล้ว ก็มีนักคิด นักคณิตศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ที่ชื่อ อลัน ทัวริ่ง (Alan Turing) ที่มองเห็น "เส้นบางๆ" ที่กั้นระหว่างความเป็นมนุษย์กับอัจฉริยภาพของเครื่องจักรกล ที่จะบางลงๆทุกที จึงคิดค้นวิธีการทดสอบที่ช่วยแบ่งแยกมนุษย์ที่มีเลือดเนื้อมีสมองจริงๆ กับเครื่องจักรกลที่อาศัยปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ในการเลียนแบบความเป็นมนุษย์ขึ้นมา

                       แบบทดสอบดังกล่าวมีชื่อว่า การทดสอบของทัวริ่ง ที่ได้รับการยอมรับกันในสากลว่าเป็นบททดสอบที่มีประสิทธิภาพในการแยกแยะมนุษย์กับเครื่องจักร โดยวิธีทดสอบคือให้ผู้ตัดสินคุยกับคนและปัญญาประดิษฐ์ (จะเป็นการพูด หรือการพิมพ์ก็ได้ ไม่ได้สนใจที่ความสามารถในด้านการติดต่อสื่อสาร) แล้วตัดสินว่าบนสนทนาที่ดำเนินอยู่นั้นเป็นบนสนทนากับคนหรือปัญญาประดิษฐ์ ถ้าไม่สามารถแยกแยะได้ก็หมายความว่าปัญญาประดิษฐ์นั้นผ่านการทดสอบของทัวริ่ง คือ มีความสามารถเลียนแบบความคิดที่เหมือนมนุษย์ (คำตอบอาจไม่ถูกต้องตามหลักความเป็นจริง แต่ลักษณะคำตอบเหมือนมนุษย์)

                       ที่ผ่านมากว่า 6 ทศวรรษยังไม่เคยมีเครื่องจักรกลปัญญาประดิษฐ์เครื่องใด เอาชนะแบบทดสอบนี้ได้เลยแม้แต่ครั้งเดียว เพราะการทดสอบที่ใช้คนจริงๆ เป็นผู้ตัดสิน ย่อมรู้ถึงความแตกต่างในรายละเอียดปลีกย่อย เช่นอารมณ์ของผู้ตอบคำถาม ลักษณะคำพูด และอื่นๆ อีกมาก ที่เป็นเอกลักษณ์ที่มนุษย์เท่านั้นจะสัมผัสกันได้

                       แต่เมื่อเร็วๆ นี้ สถิติที่คงกระพันมากว่า 6 ทศวรรษของการทดสอบของทัวริ่ง ต้องถูกทำลายลง เมื่อกลุ่มนักพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ชาวรัสเซียที่ประกอบไปด้วย วลาดิมีร์ เวเซลอฟ และ ยูจีน เดมเชนโก สามารถเอาชนะแบบทดสอบของทัวริ่งได้ โดยสามารถหลอกกรรมการที่เป็นมนุษย์ว่ากำลังคุยกับเด็กชายชาวรัสเซียวัย 13 ปี ชื่อ ยูจีน กูสแมน ระหว่างการทดสอบ

                       ทั้งที่จริงแล้วกรรมการกำลังคุยกับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่มีโปรแกรมเอไอที่ทั้งสองพัฒนาขึ้นมาต่างหาก

                       นักพัฒนาทั้งสองเปิดเผยเบื้องหลังความสำเร็จครั้งประวัติศาสตร์นี้ว่า มาจากการใส่ใจในรายละเอียดของระบบเอไอ ให้มี "อารมณ์" ของเด็กวัยรุ่นเข้าไป รวมทั้งพัฒนาระบบการโต้ตอบสนทนาให้ปัญญาประดิษฐ์นั้น "ฉลาด" ขึ้น สามารถตอบโต้คำพูดที่ตรงกับคำถามมากขึ้นด้วย

                       อย่างไรก็ตาม ความฉลาดของเอไอที่ทั้งสองพัฒนาขึ้นมานั้น สามารถเอาชนะการจับผิดของกรรมการเพียง 33% จากกรรมการทั้งกลุ่ม ซึ่งไม่ได้หมายความว่าระบบเอไอของทีมงานนี้สามารถหลอกมนุษย์กรรมการทั้งหมดให้หลงเชื่อได้ว่ากำลังคุยกับเด็กจริงๆ นั่นหมายความว่าเอไอนี้ยังมีช่องโหว่ให้จับผิดได้อีก

                       แต่หากเอไอ สามารถหลอกกรรมการได้ทั้งหมดจริงๆ ขึ้นมา วันดีคืนดีอาจจะมีโทรศัพท์เข้ามาหาคุณแล้วสนทนาขายสินค้าชนิดต่างๆ และโต้ตอบให้ข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ตรงใจ สามารถจับความรู้สึกที่คุณถ่ายทอดผ่านถ้อยคำที่พูดออกไป ทั้งที่ปลายสายนั้น เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีระบบปัญญาประดิษฐ์ติดตั้งอยู่... โลกนี้ก็น่าจะอยู่ได้ยากขึ้นมาก จริงไหม?

No comments :

Think different