Monday, April 14, 2014
กินอาหารทะเล มีสารพิษ ส่งผลถึงตับ ไต ใส้ พุง ได้รับพิษ
อ่านข่าว thairath 25 มี.ค.57 พบว่า กรมอนามัย แนะนำกินอาหารหน้าร้อนปลอดภัย
ให้เลี่ยงประเภทหอย ซึ่งเป็นแหล่งสะสมขี้ปลาวาฬ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
ทำให้ปากชา แน่นหน้าอก ห่วงอันตรายจากแบคทีเรียที่ปนเปื้อนในอาหารทะเล
http://www.thairath.co.th/content/412204
โดย ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า
อุณหภูมิที่สูงในช่วงหน้าร้อน ทำให้เชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่ในอาหารทะเลเจริญเติบโตได้ง่าย
อีกทั้งยังพบมีโลหะหนักหลายชนิด ทั้งตะกั่ว สังกะสี แคดเมียม และทองแดง
ในอาหารทะเล ประเภทปูม้า หอยนางรม และปลาหมึก โดยสารพิษเหล่านี้
มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี และยังมีพิษอื่น ๆ ที่อาจพบได้ในอาหารทะเล
อาทิ ขี้ปลาวาฬ ที่เกิดขึ้นจากแพลงตอนจำพวกไดโนแฟลกเจลเลต (Dinoflagellate)
สามารถพบได้ในน้ำทะเลทั่วๆ ไป สังเกตุได้จากน้ำมีสีน้ำตาลแดง
เมื่อมีอากาศร้อนจัดสัตว์ชนิดนี้ จะแบ่งเซลล์และเจริญเติบโตได้ในน้ำทะเลอย่างรวดเร็ว
โดยขี้ปลาวาฬจะเข้าสู่สัตว์ทะเลผ่านทางห่วงโซ่อาหาร พบมากในหอย
ซึ่งจะสร้างสารพิษพวกไบโอท็อกซิน (Biotaxin) ที่ทนความร้อน
ไม่สามารถทำลายได้ในกระบวนการปรุงอาหาร
เมื่อกินเข้าไปจะทำให้มีอาการชาบริเวณปากและทำให้แน่นหน้าอก เคลื่อนไหวลำบาก
บางรายมีอาการอาเจียนด้วย
จากการตรวจวิเคราะห์ พบขี้ปลาวาฬ และไบโอท็อกซินในปริมาณที่สูงมาก
ส่วนใหญ่พบในหอยสองฝา เช่น หอยกะพง หอยนางรม
ซึ่งกินแพลงตอนทุกชนิด โดยเฉพาะในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน
เป็นช่วงที่มีแพลงตอนชนิดนี้มากในน้ำทะเล
โอกาสที่หอยนางรมเป็นพิษก็เกิดได้มากเช่นเดียวกัน
ก่อนกินจึงควรนำไปแช่น้ำปูนเพื่อลดความเป็นพิษ หรืองดกินในช่วงนี้ก็จะเป็นการดี
นอกจากนี้ในอาหารทะเลยังพบแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุของโรคท้องร่วงมากที่สุด
คือ เชื้ออหิวาต์เทียม หรือวิบริโอพารา ฮีโมไลติคัส (vibrioparahaemolyticus)
เชื้อชนิดนี้สามารถพบได้ทั้งในน้ำทะเลและอาหารทะเล
เช่น ปลา ปูม้า หอย กุ้ง กั้ง ปูทะเล และปลาหมึก เป็นต้น
และยังพบในอาหารประเภทหอยแครงลวก ปลาดิบ ยำหอยนางรม ปูดอง หอยดอง
ซึ่งพบเชื้อได้ทั้งปีแต่จะพบมากช่วงหน้าร้อน ในเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม
ซึ่งอาการที่ปรากฏชัด หลังจากกินเข้าไป 12-24 ชั่วโมง
คือ ท้องเสีย อาเจียน ปวดท้องอย่างรุนแรง อาจมีอาการปวดศีรษะและหนาวสั่นร่วมด้วย
http://www.thaiall.com/data/badfood.htm
Subscribe to:
Post Comments
(
Atom
)
No comments :
Post a Comment