Wednesday, February 03, 2021

ลบข่าว "นักศึกษา เครียด เรียนออนไลน์ถึงตี 4"



 ปัจจุบันมีการเสนอข่าวสารมากมายตามแหล่งข่าวที่ผู้สื่อข่าว นำเรื่องราวของผู้อื่นมาเล่าต่อ ซึ่งเนื้อข่าวอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสีย เป็นการดูหมิ่น ซึ่งวิธีดำเนินการเบื้องต้น คือ แจ้งไปยังแหล่งข่าวให้ช่วยลบ หรือดำเนินการแจ้งลบ ซึ่งหลายเว็บไซต์จะมีบริการแจ้งลบได้โดยอัตโนมัติ แต่ถ้าไม่มีก็เสนอว่า 1) ส่งอีเมลถึงผู้ดูแลระบบ พร้อมอธิบายเหตุผล และอ้างอิงพรบ. หากยังเงียบไปก็อาจเป็นเพราะปัญหาในการสื่อสาร ก็ต้อง 2) โทรศัพท์ติดต่อไปจนพบผู้รับผิดชอบ เพื่อแจ้งขอความร่วมมือ กล่าวถึงการส่งรายละเอียดไปทางอีเมลก่อนหน้านี้

    มีกรณีศึกษาข่าวเศร้า เมื่อ 31 มกราคม 2564 แล้วได้ค้นคำว่า "นักศึกษา เครียด เรียนออนไลน์ถึงตี 4" พบว่า หลายเว็บไซต์ได้ลบข้อมูลเชิงข่าวที่เผยแพร่ไปก่อนหน้านี้ ซึ่งคาดได้ว่าเนื้อหาน่าจะผิด พรบ.คอมพิวเตอร์ 2550 มาตรา 14 หรือ พรบ.อาญา มาตรา 326 ชวนพิจารณาเนื้อหาใน พรบ. ดังนี้

ระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ตาม มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (๑) โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา (๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน (๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา (๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ (๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง (๑) มิได้กระทำต่อประชาชน แต่เป็นการกระทำต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ผู้กระทำ ผู้เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้เป็นความผิดอันยอมความได้
าตรา 326* ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ *[มาตรา 326 แก้ไขโดย พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฏหมายอาญา (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2535 ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535]

Tuesday, January 26, 2021

รวม 13 คำสั่งภายใน และ 18 คำสั่งภายนอกที่น่าสนใจ




คำสั่งภายใน (Internal Command)

คือ คำสั่งที่ไม่มีแฟ้มคำสั่งอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับแต่ละคำสั่ง แต่อยู่ในหน่วยความจำ และพร้อมทำงานได้ทันทีที่ถูกเรียกใช้


http://www.thaiall.com/assembly/internalcmd.htm




คำสั่งภายนอก (External Command)

คือ คำสั่งที่มีแฟ้มคำสั่งอยู่ในคอมพิวเตอร์ จึงเป็นแอพพลิเคชั่นที่ติดตั้งเพิ่ม ถอดถอน หรืออัพเกรดได้ตามที่ต้องการ โดยเรียกใช้จากโฟลเดอร์ที่ระบุ


รายการคำสั่งทั้ง 31 คำสั่ง

1) ATTRIB 2) CD and CHDIR * 3) CLS * 4) CMD or COMMAND 5) COPY * / XCOPY 6) DATE * 7) DEL * 8) DIR * 9) DISKCOPY 10) DOSKEY 11) ECHO * 12) FINDSTR 13) FORMAT 14) HELP 15) IPCONFIG 16) LABEL 17) MD or MKDIR * 18) MORE 19) PATH * 20) PING 21) POWERSHELL 22) RD or RMDIR * 23) REN * 24) SET * 25) SHUTDOWN 26) SORT 27) SYSTEMINFO 28) TASKLIST / TASKKILL 29) TIME * 30) TRACERT 31) TREE 32) TYPE * Internal command 1) DIR * 2) COPY * / XCOPY 3) DEL * 4) REN * 5) TYPE * 6) ECHO * 7) CD and CHDIR * 8) MD or MKDIR * 9) RD or RMDIR * 10) PATH * 11) SET * 12) DATE * 13) TIME * External command 14) CMD or COMMAND 15) POWERSHELL 16) HELP 17) ATTRIB 18) MORE 19) IPCONFIG 20) PING 21) TRACERT 22) TASKLIST / TASKKILL 23) FINDSTR 24) TREE 25) SORT 26) SYSTEMINFO 27) FORMAT 28) DISKCOPY 29) DOSKEY 30) LABEL 31) SHUTDOWN

Tuesday, April 16, 2019

ยายทวดมูลกับหลานน้อย


#เล่าเรื่องส่วนตัว 62-069
เล่าเรื่องอะไรในใจ
ก็เล่าได้ทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคตได้
เรื่องตนเอง ก็มีทั้งกับตัวเรา หรือญาติพี่น้อง
วันนี้มองในบ้าน
เห็นภาพคุณยายทวดมูลอุ้มลูกพี่ลูกน้องของผม
ยังจำได้เลยว่าสมัยผมยังตัวเล็ก ๆ
ไปเที่ยวหาท่านที่ต่างจังหวัด
เราไปทางรถไฟ ลงรถแล้ว
ก็เดินอีกไม่ถึงกิโล
จำได้ว่าไปดูทีวีเครื่องแรกใกล้บ้านท่าน
เด็กงี้เต็มบ้านเลย
หลังจากนั้นไม่กี่ปี บ้านผมก็มีทีวีที่บ้าน
เป็นของครอบครัว รอดูดาวพระศุกร์กัน
ไม่ต้องไปยืนเกาะหน้าต่างดูทีวีบ้านเค้า
สิ่งที่ผมไม่ชอบที่บ้านยายทวดมูล
คือ ยายปันพาเดินไปดูนาที่ไกลแสนไกล
จำได้ว่าผมฮบไปด้วย แต่สุดท้ายก็ไปไม่ถึง
นี่เล่าจากความทรงจำสีจาง
ในโลกของความทรงจำ
มีเรื่องราวมากมาย ฝังอยู่ในหัวเรา
---
อีกเรื่อง
กรอบรูปแบบนี้
น่าจะหาซื้อได้ยากในปัจจุบัน (รึเปล่านะ)
วัสดุใช้ผ้า กระดาษแข็ง และวาดลายด้วยมือ
น่าจะจากเชียงใหม่ ตามจุดขายของที่ระลึก
ที่บ้านรักษาสภาพด้วยการห่อพลาสติก
ถ่ายกรอบรูปภาพนี้ ใช้โทรศัพท์
ไม่ได้ตั้งใจหลบแสงสะท้อนพลาสติก
ไม่ได้ใช้โหมดหน้าชัดหลังเบรอ เน้น 2D
จุดอื่นได้รายละเอียดภาพครบแล้ว
ปรับด้วยแอพเยอะ เพราะภาพชัดดี

Saturday, March 04, 2017

ความทรงจำ เดี๋ยวหายไป เดี๋ยวกลับมา (๓๗.)

บันทึกคลิ๊ปเป็นหลักฐาน
ในตอนที่จำได้ เหมือน Fan Day เลย


[เมื่อสมองถูกกระตุ้น]
เชื่อว่า
หากสมองได้รับการกระตุ้น ก็จะทำงานได้ดี
และทานข้าวได้ จำเรื่องราวได้ถูกต้อง
ครั้งหนึ่ง จะพาไปหาหมอ คุณแม่ก็ตื่นเต้น
เช้านั้น คุณแม่คายข้าวแค่คำแรก
จากนั้นก็เคี้ยวและกลืนได้ปกติ
หากมีเหตุการณ์กระตุ้นสมอง
ไม่ว่าจะเป็น ความดีใจ ความโกรธ ความตกใจ ความหวัง
สรุปว่าสมองที่ได้รับการกระตุ้น ในระดับที่มากพอ
ครั้งหนึ่ง ผลการกระตุ้นทำให้คุณแม่จำ
ว่า ผู้ที่ดูแลคุณแม่อยู่ คือ ลูกชายคนเดียว
และไม่มีลูกตัวเล็กที่พร่ำเรียกหาว่า หายไปไหน
จะไปถามหาลูกตัวเล็ก ๆ จากใครต่อใคร
แสดงว่า สมอง ที่ฝ่อนั้น
ความจำบางส่วน ที่คิดว่าหายไปแล้ว ไม่ได้หายไปถาวร
แค่หลงลืม และกลับมาทำงานได้อีก ในบางครั้ง
การลืมว่าผมคือ ลูกชาย ยังไม่ถาวร
หลังจำได้ ผมก็ถามย้ำเช้าเย็น
นี่ผ่านมา 2 วัน คุณแม่ยังจำได้ว่าผม คือ ลูกชาย
พอจำได้ ผมก็บันทึกคลิ๊ปวีดีโอ (Clip)
ให้ท่านพูดว่า ผมลูกใคร และเขียนลงกระดาษ
ด้วยลายมือของท่าน คราวหน้าลืมอีก
ผมก็จะหยิบมาเปิดให้ดูอีกครั้ง
บันทึกเป็นหลักฐานแบบในหนังเรื่อง Fan Day
การทำงานของสมองไม่ค่อยแน่นอน
บางวันง่วงนอน หลับเยอะ
บางวันสมองตื่นตัว ไม่ยอมนอนกลางวัน
คิดนู่นนี่เยอะไปหมด วันนี้ทานข้าวเช้าเสร็จก็นอนพักแล้ว

[เรื่องที่ไม่น่าลืม]
มนุษย์เรา มีเรื่องมากมาย
เรื่องมากมายที่ไม่น่าลืม ก็มีเยอะ
เช่น ลืมว่าผมเป็นลูก แต่ท่านก็ลืม
ผลการลืมเรื่องนี้
ทำให้ลืมว่าผมแต่งงาน มีลูก และท่านก็มีหลาน
การพูดถึงหลาน
ท่านก็คิดว่าเป็นลูกหลานของคนอื่น
เพราะลูกของท่านยังตัวเล็ก
บางครั้งไปพบน้องของคุณแม่ ผมก็จะยกมือไหว้ทุกครั้ง
ระยะหลัง
ท่านก็เหมือนจะลืมว่าน้าของผม คือ น้องของท่าน
ยกมือไหว้ตามผมทุกครั้ง แปลกใจกันไปทุกทีเช่นกัน
อีกเรื่องที่ท่านไม่ยอมรับ
คือ คุณยาย หรือแม่ของท่าน เสียไปแล้ว
และคุณพ่อของผม เสียไปแล้วเช่นกัน
แต่ท่านฝังใจว่า คุณยายไปบ้านเกิด เดี๋ยวก็กลับมา
คุณพ่อไปต่างประเทศ ยังไม่กลับ
แม้ผมจะหยิบอัลบั้มงานศพให้ดูท่านก็ไม่เชื่อ
บอกว่าเข้าใจผิดกันหมด
ที่ต้องพยายามอธิบาย เพราะท่านพยายามจะไปหา
ถามผมว่า จำทางไป วังกะพี้ได้ไหม อยากไปตามหายาย

[ดูหนังเรื่องความทรงจำ]
มีภาพยนตร์เรื่อง inside out กับ พรจากฟ้า
เล่าเรื่องการควบคุม และปัญหาความจำจากโรคอัลไซเมอร์
เห็นแล้วก็เหมือนเรื่องของตนเอง ดูหนังแล้วย้อนดูตน
แต่พอคุณแม่มีปัญหาจากโรคอัลไซเมอร์ บวกพาร์กินสัน
รับรู้เลยว่ามีรายละเอียดมากมาย
กว่าที่เห็นในภาพยนตร์
ความทรงจำมีเรื่องของ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต
พักนี้พยายามพูดคุยกับคุณแม่ ว่า
สิ่งที่อยู่ในกะละมังที่เตรียมไว้คายอาหาร คือ อดีต
สิ่งที่อยู่ในปาก คือ ปัจจุบัน ต้องกลืนลงไปให้ได้
สิ่งที่อยู่ในจาน หรือของหวานหลังอาหาร คือ อนาคต
จะเตรียมไว้ แต่ไม่ให้เห็นก่อนทานข้าว นำมาทีละรายการ
คุณแม่มักจะติอาหารว่า
เค็มไป เปรี้ยวไป เผ็ดไป หวานไป จืดไป
แต่ผลของการติ คือ กลืนไม่ลง
ปัญหานี้เกิดบ่อยในช่วงเช้า
สิ่งที่ทานได้มักเป็นของหวาน แต่บางรายการก็คาย
ที่คาย เช่น เผือกกวนบ่นว่าเหนียว
บวชชีกล้วยให้ไป 4 ชิ้น ก็กลืนได้ 2 ชิ้น

ปกติจะไม่ปลุกท่าน ยกเว้นท่านขอตื่นเองตั้งแต่เจ็ดโมง
ระยะหลังจะนอนพักนาน ๆ
ให้สมองพักผ่อน ก็มักจะเริ่มทานข้าว 9 โมงกว่า
ปล่อยให้พัก คิดว่าจะมีสติดีขึ้นเมื่อตื่น ก็ยังมีปัญหากลืนอยู่ดี
ก็ต้องปรับรายการอาหารกัน แบบมื้อต่อมื้อ
พูดคุยด้วย แบบคำต่อคำ ลุ่นว่ากลืนได้ไหม
ปกติคำแรกจะกลืนไม่ลง ส่วนคำต่อไปก็ต้องลุ้น

Wednesday, February 22, 2017

มองอาการทางจิตของคุณแม่ ทั้ง 10 อาการ (๓๔.)


ทั้งพฤติกรรม และอาการทางจิต ก่อนดูของคุณแม่
ก็ดูของผมก่อนเลย ว่าปกติดีอยู่รึเปล่า



มองกาย มองจิต มองให้ได้วันละ 30 นาที
เค้าว่าจะดี




[พฤติกรรม และอาการทางจิต]
ทบทวนวรรณกรรมกันหน่อย
หาข้อมูลเพื่อดูแลคุณแม่ พบหัวข้อ
"ปัญหาพฤติกรรมและอาการทางจิตที่พบได้บ่อย ๆ"
เรียบเรียงโดย Thammanard Charernboon
มีดังต่อไปนี้*
1. อาการหลงผิด (delusion) พบได้  30-40 %
2. อาการหูแว่วหรือประสาทหลอน (auditory hallucination and visual hallucination) พบได้ 20-30 %
3. ภาวะซึมเศร้า (depression) พบได้  40-50 %
4. อาการวิตกกังวล (anxiety) พบได้ 40 %
5. อาการเฉยเมยไม่สนใจสิ่งรอบตัว (apathy) พบได้ 70 %
6. พฤติกรรมไม่สามารถยับยั้งชั่งใจ (disinhibition) พบได้30-40 %
7. อารมณ์หงุดหงิด โกรธ เปลี่ยนแปลงได้ง่าย (irritable) พบได้ 40%
8. พฤติกรรมทำอะไรแปลก ๆ (aberrant motor behavior) พบได้ 30-40 %
9. ปัญหาด้านการนอน (sleep problem) พบได้ 30-50 %
10. ปัญหาด้านการกิน (Appetite)  พบได้ประมาณ 40-50%
http://thammanard.blogspot.com/2014/07/bpsd.html

[วิเคราะห์ภาวะที่เกิดกับคุณแม่]
พิจารณาตามหัวข้อข้างต้น
1. อาการหลงผิด
พบบ่อย
เช่น มองลายมือตนเอง แล้วบอกว่าจะถูกหวยรางวัลใหญ่
เพราะมีคนทักว่าลายมือดี เส้นเยอะ
ผมต้องซื้อฉลากกินแบ่งให้ทุกงวดเลย แก้ปัญหาง่าย ๆ ครับ
ถ้าถามถึง ก็จะควักให้ดู แล้วก็จบคำถามไปได้

2. อาการหูแว่วหรือประสาทหลอน
พบบ้าง
ตอนนี้ผูกด้ายขาวที่พระท่านเมตตาให้ไว้ พกติดตัวตลอด
เพราะท่านเชื่อว่ากันผี
นาน ๆ ก็จะเล่าให้ผมฟังสักครั้ง
ไม่ถือว่าบ่อย แต่มีเรื่องนี้ในใจแน่นอน

3. ภาวะซึมเศร้า
ไม่พบนะ
เพราะผมชวนพูดคุย ทำกิจกรรมตลอด

4. อาการวิตกกังวล 
พบบ่อย เรื่องเสื้อผ้าไม่สวย ข้าวของ ญาติพี่น้อง พ่อแม่ ลูกหลาน
เห็นภาพยังระแวงเลย จะให้ปลดภาพ ย้ายภาพ บ่อยเลย

5. อาการเฉยเมยไม่สนใจสิ่งรอบตัว 
ไม่พบนะ
เพราะผมชวนพูดคุย ทำกิจกรรมตลอด

6. พฤติกรรมไม่สามารถยับยั้งชั่งใจ
มีบ้าง แต่ไม่เยอะ
เช่น อยากไปพบช่างตัดผ้า ติดตามว่าที่ตัดไว้ได้รึยัง
เรื่องนี้จำแม่น และอยู่ในใจเสมอ
เพราะเสื้ออื่น ท่านว่ายืมเค้ามา อยากได้เสื้อผ้าใหม่

7. อารมณ์หงุดหงิด โกรธ เปลี่ยนแปลงได้ง่าย
มีบ้าง แต่ไม่เยอะ

8. พฤติกรรมทำอะไรแปลก ๆ 
มีบ้าง แต่ไม่เยอะ

9. ปัญหาด้านการนอน 
ได้ยานอนหลับตลอด น้อยไป หมอก็เพิ่มให้
เพราะตอนไม่ได้ยา จะมีปัญหาเยอะมาก

10. ปัญหาด้านการกิน 
ท่านเป็นพาร์กินสัน ดื่มน้ำยากมาก ๆ
อาหารก็พอทานได้ ชอบของอร่อย โดยเฉพาะของหวาน
เลือกมาก ติมาก ต้องเลือกให้ท่าน ตามใจ
แล้วแต่ละมื้อก็จะผ่านไปด้วยดี

[ชวนคุยเรื่องแยกธาตุแยกขันธ์]
ก็พูดเรื่องธรรมะให้คุณแม่ฟังบ่อย
คุยเรื่องปล่อยวาง
หายใจเข้า หายใจออก กำหนดจิตรู้
แต่ดูท่านจะไม่ค่อยสนใจ
ตอนปกติท่านก็ไม่สนใจอยู่แล้ว
แต่ผมพูดบ่อย ๆ เรื่องจิต (conscious)
เพราะต้องการย้ำให้จิตตนเองรับรู้ด้วย
ดูแลท่าน ต้องดูแลจิตของตนเองด้วย
เพราะจิตของผมก็ไม่ค่อยจะแข็งแรงมากมายนัก
เรื่องกายก็พอไหว้อยู่
แต่วัยเกือบ 50 ก็เสียวเหมือนกัน
คุณพ่อจากไปด้วยมะเร็งลำไส้ ตอน 50 ต้น ๆ
คุณยายจากไปด้วยมะเร็งตับ ตอน 60 ต้น ๆ
ก็ต้องยอมรับว่ากังวลครับ

Think different