Sunday, August 03, 2014

ระบบและกลไกของ oishi แจ้งว่าคิวเต็ม



ชอบคำอธิบายของ oishi เป็นพิเศษ

3 สิงหาคม 2557 มีโอกาสเดินผ่านร้าง oishi ที่ central plaza lampang
เป็นป้ายบอกว่า ขออภัยลูกค้าทุกท่าน
ทางร้านขออนุญาต ปิดรับคิว
เนื่องจากมีคิวที่รอเกิน 3 รอบ
ที่นั่งของทางร้านแล้ว
ถ้าหากรับคิวลูกค้าไว้ทางลูกค้าอาจจะไม่ได้เข้าทาน
เพราะเกินเวลาของทางห้างปิดบริการ

สรุปว่า ทางร้านมีระบบ คือ ขั้นตอนในการแจก จากเปิดรับ
การจัดลำดับ การประเมินความเสี่ยง และการตรวจสอบ
น่าจะเข้ากระบวนการ PDCA ได้เลย
จนเป็นผลให้ออกประกาศแจ้งลูกค้า

มีข้อสังเกตุว่า นี่ไข่ไก่หมดร้านเลยหรือครับ
รู้สึกว่าลูกค้าคงชอบทานไข่ไก่เป็นแน่แท้

หากเป็นเถ้าแก่ทั่วไป ที่ต้องการให้ลูกค้าสบายใจที่ถือคิวไว้ในมือ
รับบัตรคิว และแจกบัตรคิวไปถึงสามทุ่ม
อาจมีคนรับบัตรคิว รอหิวจนใส้กิ่วหลายร้อยคนก็เป็นได้
สงสัยผู้จัดการศึกษาเรื่อง CSR มาก่อนเป็นแน่แท้ .. ชื่นชม

ปล. แต่ยอมรับเลยว่าสมัยนี้มีคนยอมจ่ายมื้อละ 349 บาทเยอะจริง

Saturday, August 02, 2014

ข้อดีของเซฟฟี่และอัสซี่ (itinlife460)





เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนรักตัวเอง เมื่อมีเครือข่ายสังคมและมีอุปกรณ์ที่สามารถบันทึกภาพและคลิ๊ปวีดีโอได้ ก็เริ่มมีพฤติกรรมแสดงออกว่ารักตัวเองกันแพร่หลาย แล้วตั้งชื่อพฤติกรรมใหม่ว่าเซฟฟี่ (Selfie) คือ การถ่ายภาพของตนเอง ปกติมักจะเห็นท่อนแขนที่เอื้อมไปกดปุ่มชัตเตอร์ (Shutter) พบครั้งแรกในปีพ.ศ.2545 ที่ประเทศออสเตรเลีย แล้วพจนานุกรมออกซ์ฟอร์ด (Oxford dictionary) ได้จัดคำนี้เป็นคำศัพท์แห่งปี 2013 (Word of the year 2013) ซึ่งภาพเซฟฟี่มักโฟกัสที่หน้าตา และทรงผม ด้วยข้อจำกัดจากความยาวของท่อนแขนที่ต้องจับกล้องไว้ขณะถ่ายภาพ แต่ก็มีเซฟฟี่แบบตั้งเวลาถ่ายภาพ ทำให้ไม่จำเป็นต้องจับกล้องไว้กับมือ
            เมื่อเซฟฟี่เริ่มได้รับความนิยมก็มีคำใหม่เกิดขึ้นตามพฤติกรรมใหม่ เช่น อัสซี่ (Usie) คือ การถ่ายภาพหมู่ด้วยตนเอง จึงมักเห็นท่อนแขนหลายท่อนที่ยื่นมากดถ่ายภาพ หรือทูฟี่ (Twofie) และทรีฟี่ (Threefie) ที่นับจากจำนวนคนในภาพถ่าย โดยพฤติกรรมทั้งเซฟฟี่และอัสซี่เป็นสิ่งที่ควรส่งเสริม เพราะประกอบด้วยอย่างน้อย 3 ขั้นตอนของความรู้สึกเพื่อให้ได้มาหนึ่งภาพคือ ความรัก (Love) เพราะไม่รักตัวเองก็คงไม่ถ่าย การยอมรับตนเอง (Recognize) ถ้าไม่ยอมรับหน้าตาของตนก็คงไม่ได้เห็นเซฟฟี่เหล่านั้น การแบ่งปัน (Share) คือการอยากให้คนอื่นได้เห็นเหมือนเราและเปิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งเชื่อได้ว่าการมีพฤติกรรมนี้มากจะช่วยลดปัญหาการฆ่าตัวตายได้
            มีความเชื่อว่าคนที่รักตัวเองมีปฏิสัมพันธ์กับคนในสังคม ได้แสดงออก ได้แบ่งปัน ได้รับการยอมรับ ไม่เก็บกด ย่อมมีโอกาสฆ่าตัวตายน้อยกว่าคนที่เก็บกด ซึมเศร้าคนเดียว ตามข้อมูลของกรมสุขภาพจิต พบว่า คนไทยฆ่าตัวตายสำเร็จเฉลี่ย 3612 คนต่อปี หรือประมาณ 10 คนต่อวัน แต่ที่เกาหลีใต้มีสถิติถึง 15000 ครั้งต่อปี ซึ่งมากกว่าไทย 4 เท่า และเป็นอันดับหนึ่งในกลุ่มประเทศที่พัฒนาที่มีสถิติฆ่าตัวตายสูงสุด แต่ประชากรของเกาหลีใต้มีราว 50 ล้านคนน้อยกว่าประเทศไทยที่มี 65 ล้านคน ซึ่งเหตุที่ฆ่าตัวตายสูงกว่าไทยอาจมีเหตุผลหนึ่งที่คนเกาหลีใต้เป็นพวกชาตินิยม มีจริยธรรมสูง มีความเชื่อว่าฆ่าตัวตายด้วยการคว้านท้องหากทำงานล้มเหลว หรือศาสนาที่ไม่เข้มแข็ง ซึ่งภาครัฐของเกาหลีใต้ก็พยายามแก้ปัญหานี้อยู่

Friday, August 01, 2014

รับน้องดุ หรือ รับน้องสยองขวัญ หรือเตะรุ่นน้อง หรือรับน้องโหด


http://www.dailynews.co.th/Content/crime/256182/

เรื่อง รับน้องดุ หรือ รับน้องสยองขวัญ หรือเตะรุ่นน้อง หรือรับน้องโหด
ก็ล้วนแต่เป็นเรื่องที่ถูกมองว่าไม่เหมาะสมด้วยหลายประการ
ข่าวบอกว่าเรื่องเกิดในวัดแห่งหนึ่ง ย่านบางกรวย
ซึ่งอยู่ตรงข้ามโรงเรียนแห่งหนึ่งในย่านบางกรวย นนทบุรี
แล้ว นายโรจนะ กฤษเจริญ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ได้ส่งศูนย์เฉพาะกิจช่วยเหลือนักเรียน เข้าไปตรวจสอบที่โรงเรียน
และพบว่าเป็นการเตะเข้าแก๊ง เข้ากลุ่ม เหตุเกิดหลังเลิกเรียน
รุ่นพี่ได้ไปดักต้อนเด็กรุ่นน้องคนนี้ไปที่วัด
ตอนนี้ผู้ปกครองทราบเรื่องแล้วเตรียมไปแจ้งความดำเนินคดีกับรุ่นพี่ที่เตะลูกไม่ยั้ง 
ขณะที่ สพฐ.หารือกับโรงเรียนและขอให้เพิ่มช่วงเวลาดูแลเด็กนักเรียนให้มากขึ้น
http://www.youtube.com/watch?v=eRiGuso1GUw

ส่วน ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.)
เป็นห่วงว่าไม่ใช่การทะเลาะวิวาททั่วไป ที่เกิดแล้วก็หายไป
แต่เป็นทำกันเป็นระบบ ที่มีการจัดการไว้ก่อนเป็นอย่างดี
แล้วเกรงว่าอาจจะไปกระทำกับเด็กคนอื่นอีก


หากสะท้อนภาพที่เห็นตามเกณฑ์ในคู่มือ... ที่ออกเมื่อปี 2553
ซึ่งสถาบันการศึกษา .. ต้องถือปฏิบัติ
เห็นได้ชัดว่าจะกลุ่มนี้ต้องมีระบบและกลไก และมีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ชัดเจน
แล้วมีขั้นตอนตาม PDCA ที่ต้องวางแผน ดำเนินการ ทดสอบ และใช้ต่อ
มีการแบ่งหน้าที่เป็นกลไกชัดเจนว่าใครทำหน้าที่อะไร
ต้องทำงานกันเป็นทีม ถึงได้เห็นการแบ่งหน้าที่ออกมาได้
คงต้องวิเคราะห์ความเสี่ยงถึงได้ไปในวัด เพราะเป็นที่สงบ
เห็นวัดเป็นที่พึ่ง และมีวัฒนธรรมเป็นของกลุ่ม
มีการทดสอบว่าจะผ่านเข้ากลุ่มได้หรือไม่ แสดงว่าคัดเลือกผู้ที่เหมาะสม
ซึ่งล้วนไม่ดี และทางผู้ใหญ่ก็ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้

น่าจะสรุปได้ว่า ระบบและกลไก พบเห็นได้ทั่วไปในทุกกลุ่มคน
แต่หากถามถึง แล้วไม่มีก็อาจเป็นเพราะจงใจละเลยซะมากกว่า
เด็ก ๆ กลุ่มนี้ก็มีระบบ และกลไก เป็นที่ประจักษ์

Think different